เปิดวิธีรับมือกับความเครียดอย่างถูกต้อง กับไลฟ์โค้ชชื่อดัง
ความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย อาจจะเกิดขึ้นในช่วงระยะสั้น ๆ หรืออยู่กับเราเป็นเวลานาน อันจะส่งผลเสียต่อร่างกาย และจิตใจ ความเครียดจะไม่ใช่เรื่องน่าหนักใจ
ถ้าเรารู้จักวิธีบริหารจัดการความเครียดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายร่างกายและจิตใจถือเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่ต้องพบเจอในชีวิตเป็นอย่างดี ‘ธัญ’ (THANN) แบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพผิวและเส้นผม ร่วมกับไลฟ์โค้ช จอย- สุนันท์ษา นิธิวาสิน จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติเชิงบวกกับการใช้ชีวิตของคนเมืองยุคใหม่ ที่ต้องเผชิญกับความเร่งรีบ การแข่งขัน รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต
จอย - สุนันท์ษา นิธิวาสิน ไลฟ์โค้ชชื่อดังกล่าวถึงปัญหาความเครียด พร้อมแนะวิธีจัดการอย่างถูกวิธีว่า ‘ความเครียดนั้นเป็นสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ทั้งโรคทางกายและทางใจ เวลาที่เรารู้สึกเครียดมากๆ จะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนความเครียด หรือ “ฮอร์โมนคอร์ติซอล” (Cortisol) เป็นฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ที่สร้างและหลั่งจากต่อมหมวกไต มีหน้าที่สำคัญในการตอบสนองต่อการอักเสบในร่างกาย และตอบสนองต่อความเครียด โดยจะไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการสูบฉีดเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ทำให้สมองและร่างกายอยู่ในภาวะตื่นตัว มีพลัง พร้อมสู้กับปัญหาและความเครียดต่างๆ
แม้ว่าคอร์ติซอลจะเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกาย แต่หากเราเกิดความเครียดบ่อยๆ จนมีการหลั่งคอร์ติซอลออกมามากเกินไป และหากเรามีความเครียดสะสมเป็นเวลานานจนทำให้เกิดภาวะความเครียดสะสม ก่อให้เกิด “ภาวะต่อมหมวกไตล้า” (Adrenal Fatigue) มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน หรือวัยเรียน มากถึง 80-90% ทำให้เรามีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่ (Optimal Health) ทำให้เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียเรื้อรัง ไม่ค่อยมีแรง และทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
หากสะสมเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนได้ ซึ่งการบริหารจัดการความเครียดยังเชื่อมโยงโดยตรงกับ EQ (Emotional Quotient) หรือความฉลาดทางอารมณ์อีกด้วย การมี EQ ที่ดีก็จะสามารถเผชิญหน้ากับความเครียดและจัดการกับมันได้อย่างถูกวิธี ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความเครียดที่กำลังเผชิญนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร หรือมีอะไรมาเป็นสิ่งกระตุ้น จากนั้นก็ค่อยหาวิธีจัดการอย่างเหมาะสม การมองโลกตามความเป็นจริง และอยู่กับปัจจุบันนั้นจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ดี ส่วนการมองโลกในเชิงบวกนั้นเป็นการส่งเสริมหรือให้กำลังใจตัวเราเอง เพื่อให้เรามีแรงกายและแรงใจที่จะสู้ต่อไปได้ และยังช่วยให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นและมีความสุขกับมันมากยิ่งขึ้น
แม้ว่าคอร์ติซอลจะเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกาย แต่หากเราเกิดความเครียดบ่อยๆ จนมีการหลั่งคอร์ติซอลออกมามากเกินไป และหากเรามีความเครียดสะสมเป็นเวลานานจนทำให้เกิดภาวะความเครียดสะสม ก่อให้เกิด “ภาวะต่อมหมวกไตล้า” (Adrenal Fatigue) มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน หรือวัยเรียน มากถึง 80-90% ทำให้เรามีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่ (Optimal Health) ทำให้เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียเรื้อรัง ไม่ค่อยมีแรง และทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
หากสะสมเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนได้ ซึ่งการบริหารจัดการความเครียดยังเชื่อมโยงโดยตรงกับ EQ (Emotional Quotient) หรือความฉลาดทางอารมณ์อีกด้วย การมี EQ ที่ดีก็จะสามารถเผชิญหน้ากับความเครียดและจัดการกับมันได้อย่างถูกวิธี ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความเครียดที่กำลังเผชิญนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร หรือมีอะไรมาเป็นสิ่งกระตุ้น จากนั้นก็ค่อยหาวิธีจัดการอย่างเหมาะสม การมองโลกตามความเป็นจริง และอยู่กับปัจจุบันนั้นจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ดี ส่วนการมองโลกในเชิงบวกนั้นเป็นการส่งเสริมหรือให้กำลังใจตัวเราเอง เพื่อให้เรามีแรงกายและแรงใจที่จะสู้ต่อไปได้ และยังช่วยให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นและมีความสุขกับมันมากยิ่งขึ้น
อีกหนึ่งแนวความคิดที่อยากแนะนำเพื่อสร้างความสุขในการดำเนินชีวิต คือ อิคิไก (IKIGAI) แนวคิดเพื่อการสร้างความสุขแบบยั่งยืนที่โด่งดังของคนญี่ปุ่นมีความหมายว่า “การมองหาคุณค่าและความสุขจากการใช้ชีวิต” เปรียบเสมือนการค้นหาเข็มทิศเพื่อช่วยค้นพบความหมายของการมีชีวิตอยู่ เมื่อเรามองเห็นหนทางหรือความชัดเจนในทุกเรื่อง มีเป้าหมายโฟกัสกับสิ่งที่จำเป็น และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นทิ้งไปบ้าง เราก็จะมีความสุขกับทุกนาทีและเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้นด้วย โดย อิคิไก (IKIGAI) นั้นประกอบด้วยความสมดุลระหว่าง 4 สิ่ง
ได้แก่ 1. สิ่งที่เรารักหรือมีความสุขที่ได้ทำ 2. สิ่งที่เราถนัดหรือทำได้ดี 3. สิ่งที่มีประโยชน์และโลกกำลังต้องการ และ 4. สิ่งที่สร้างรายได้ให้เรา โดยเมื่อเรานำสิ่งที่รัก + สิ่งที่ถนัด ก็จะเกิดเป็น ความหลงใหล (Passion) หรือ เอาสิ่งที่รัก + สิ่งที่โลกต้องการ จะเป็น หน้าที่ (Mission) หรือ เอาสิ่งที่โลกต้องการ + สิ่งที่สร้างรายได้ ก็จะเท่ากับ งานหาเลี้ยงชีพ (Vocation) หรือ เอา สิ่งที่ถนัด + สิ่งที่สร้างรายได้ ก็จะได้เป็น อาชีพเชี่ยวชาญ (Profession)
จริงๆ แล้วความเครียดที่พอดีบวกกับการจัดการอย่างถูกวิธีก็ส่งผลดีต่อเราได้ เช่น ช่วยกระตุ้นให้เราทำงาน มีแรงฮึดขึ้นมาทำสิ่งต่างๆ ได้ แต่ถ้าหากมีมากเกินไปก็ย่อมส่งผลร้ายต่อเราได้เช่นกัน ถ้าหากเรารู้ตัวว่าเครียดแล้ว ก็มีหลากหลายวิธีเพื่อคลายเครียด อาทิ การหันเหความสนใจ โดยการหางานอดิเรกที่ชอบทำ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ฟังเพลง ออกกำลังกาย ดูหนัง ถึงแม้จะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาโดยตรง แต่ก็เป็นวิธีที่ง่ายในการลดความเครียด ทำให้เรากลับมามีสติอยู่กับตนเองและค้นพบทางออกได้เพิ่มขึ้น สร้างความผ่อนคลายและควบคุมความเครียด เพราะในขณะที่เกิดความเครียด กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายจะหดเกร็งและจิตใจจะวุ่นวายสับสน
ดังนั้นควรฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ รวมทั้งเลือกรับประทานอาหารที่มีสรรพคุณช่วยคลายเครียด อาทิ ผักและผลไม้สดที่อุดมด้วยวิตามินบี และแมกนีเซียม ช่วยบํารุงประสาทและสมอง ทําให้รู้สึกผ่อนคลาย หรือเลือกทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง อย่างส้ม มะนาว ใบตําลึง ฯลฯ ช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอล และทําให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทํางานดีขึ้น อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน อาทิ มันฝรั่ง มันเทศ ข้าวกล้อง ฯลฯ มีส่วนช่วยให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ “เซโรโทนิน” สามารถควบคุมอารมณ์ ลดความวิตกกังวล ลดความโกรธ และซึมเศร้า ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ อารมณ์มั่นคง และไม่อ่อนเพลีย’
ได้แก่ 1. สิ่งที่เรารักหรือมีความสุขที่ได้ทำ 2. สิ่งที่เราถนัดหรือทำได้ดี 3. สิ่งที่มีประโยชน์และโลกกำลังต้องการ และ 4. สิ่งที่สร้างรายได้ให้เรา โดยเมื่อเรานำสิ่งที่รัก + สิ่งที่ถนัด ก็จะเกิดเป็น ความหลงใหล (Passion) หรือ เอาสิ่งที่รัก + สิ่งที่โลกต้องการ จะเป็น หน้าที่ (Mission) หรือ เอาสิ่งที่โลกต้องการ + สิ่งที่สร้างรายได้ ก็จะเท่ากับ งานหาเลี้ยงชีพ (Vocation) หรือ เอา สิ่งที่ถนัด + สิ่งที่สร้างรายได้ ก็จะได้เป็น อาชีพเชี่ยวชาญ (Profession)
จริงๆ แล้วความเครียดที่พอดีบวกกับการจัดการอย่างถูกวิธีก็ส่งผลดีต่อเราได้ เช่น ช่วยกระตุ้นให้เราทำงาน มีแรงฮึดขึ้นมาทำสิ่งต่างๆ ได้ แต่ถ้าหากมีมากเกินไปก็ย่อมส่งผลร้ายต่อเราได้เช่นกัน ถ้าหากเรารู้ตัวว่าเครียดแล้ว ก็มีหลากหลายวิธีเพื่อคลายเครียด อาทิ การหันเหความสนใจ โดยการหางานอดิเรกที่ชอบทำ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ฟังเพลง ออกกำลังกาย ดูหนัง ถึงแม้จะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาโดยตรง แต่ก็เป็นวิธีที่ง่ายในการลดความเครียด ทำให้เรากลับมามีสติอยู่กับตนเองและค้นพบทางออกได้เพิ่มขึ้น สร้างความผ่อนคลายและควบคุมความเครียด เพราะในขณะที่เกิดความเครียด กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายจะหดเกร็งและจิตใจจะวุ่นวายสับสน
ดังนั้นควรฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ รวมทั้งเลือกรับประทานอาหารที่มีสรรพคุณช่วยคลายเครียด อาทิ ผักและผลไม้สดที่อุดมด้วยวิตามินบี และแมกนีเซียม ช่วยบํารุงประสาทและสมอง ทําให้รู้สึกผ่อนคลาย หรือเลือกทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง อย่างส้ม มะนาว ใบตําลึง ฯลฯ ช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอล และทําให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทํางานดีขึ้น อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน อาทิ มันฝรั่ง มันเทศ ข้าวกล้อง ฯลฯ มีส่วนช่วยให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ “เซโรโทนิน” สามารถควบคุมอารมณ์ ลดความวิตกกังวล ลดความโกรธ และซึมเศร้า ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ อารมณ์มั่นคง และไม่อ่อนเพลีย’